วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ ๕ การคลังรัฐบาล

บทที่ 5 การคลังรัฐบาล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการคลังรัฐบาล
 
1. ความหมายของการคลังรัฐบาล
          การคลังรัฐบาล (
Public Finance) หมายถึง การใช้จ่ายเงินเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล วิธีการแสวงหารายได้ของรัฐบาล ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายเงิน และการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล การคลังรัฐบาลส่วนใหญ่ประกอบด้วย
 
         1.1 งบประมาณแผ่นดิน ( Government Budget ) งบประมาณแผ่นดินเป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้ และการใช้จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อแสดงประมาณการว่า รัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้าง แต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนเท่าใด และรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้น ๆ
          งบประมาณแผ่นดินจะแสดง
          (
1) รายจ่ายของรัฐบาลตามประเภทของรายจ่าย และตามลักษณะของงานที่รัฐบาลจะจัดทำ
          (
2) แหล่งรายได้ที่รัฐบาลจัดหามาเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการที่จะปฏิบัติจัดทำ
         
1.2 หนี้สาธารณะ ( Public Debt ) เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการกู้เงินของรัฐบาลประเภทเงินกู้ตลอดจนผลดีและผลเสียของเงินกู้ประเภทต่าง ๆ เนื่องจากหนี้สาธารณะเป็นรายรับที่มีภาระต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืน และในปัจจุบันถือว่าการกู้เงินของรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นต้องกระทำจึงได้มีการแยกเรื่องหนี้สินออกจากเรื่องรายได้ของรัฐบาล เพื่อวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียของการก่อหนี้ และผลของการก่อหนี้ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
         
1.3 นโยบายการคลัง ( Fiscal Policy ) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของรัฐบาลอันจะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนแนวทางที่รัฐบาลจะใช้นโยบายกาคลังเป็นเครื่องมือควบคุมและแก้ไขให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพ
2. ความเป็นมาของการคลังรัฐบาล
          การคลังรัฐบาลในสมัยโบราณมีความสำคัญน้อยกว่าในปัจจุบัน รายได้ของรัฐต่าง ๆ ได้จากทรัพย์สิน และแรงงานที่กะเกณฑ์เอาจากราษฎร และผลประโยชน์จากการทำสงคราม เช่น ค่าประติมากรรมสงคราม ทรัพย์สินผู้คนที่ยึดได้ และเครื่องบรรณาการที่ได้รับจากเมืองขึ้น เป็นต้น ในสมัยของ อดัม สมิธ (
Adam Smith ) ได้สนับสนุนให้เอกชนมีเสรีภาพในการผลิตและการบริโภคอย่างเต็มที่ เรียกว่า ลัทธิเสรีนิยม และเห็นควรจำกัดให้รัฐบาลมีหน้าที่เพียง 3 ประการ คือ
          (
1) รักษาความสงบภายใน
          (
2) ป้องกันภัยจากภายนอก และ
          (
1) ให้ความยุติธรรมแก่ปวงชน
          เมื่อหน้าที่ของรัฐบาลถูกจำกัดลง เฉพาะการจัดบริการด้านตำรวจ ทหาร และศาลเท่านั้น การคลังรัฐบาลในสมัย อดัม สมิธ จึงลดความสำคัญลงมา อดัม สมิธ เห็นว่ารายได้ของประเทศควรจะมาจาก
          (
1) รายได้จากทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่เป็นของรัฐ
          (
2) รายได้จากภาษีอากร
          สำหรับรายได้จากภาษีอาการนั้น อดัม สมิธ ถือว่าเป็นรายได้ที่สำคัญ จึงได้เสนอหลัก
4 ประการ ในการจัดเก็บภาษีอากร คือ
          (
1) หลักความยุติธรรม
          (
2) หลักความแน่นอน
          (
3) หลักความสะดวก และ
          (
4) หลักการประหยัด
          เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นผลดีแก่ส่วนรวม
          ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่
19 ลัทธิที่ อดัม สมิธ สนับสนุนอยู่ได้เสื่อมคลายลง การที่จะจำกัดหน้าที่ของรัฐให้มีหน้าที่เฉพาะการรักษาความสงบภายใน ภายนอก และให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนเท่านั้น ในทางปฏิบัติย่อมทำได้ยาก เพราะระยะนี้ประเทศต่าง ๆ ได้หันเข้ามาสู่ยุคปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรต่างหลั่งไหลจากชนบทเข้าสู่แหล่งอุตสาหกรรม และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่กดดันให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ในประการต่าง ๆ มากขึ้น เมื่อรัฐบาลมีภาระหน้าที่มากขึ้นก็จำเป็นต้องแสวงหาแหล่งรายได้ และใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รัฐบาลจึงต้องแสวงหากฎเกณฑ์ทางการคลัง ในทางที่จะช่วยให้การจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นผลดีแก่การประกอบอาชีพของราษฎร การคลังรัฐบาลจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน
3. ความเป็นมาของการคลังรัฐบาลในประเทศไทย           
          มีความเป็นมาทำนองเดียวกันกับการคลังรัฐบาลในต่างประเทศ กล่าวคือ ในระยะแรก ๆ รัฐบาลยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งมากนัก โดยเฉพาะรายได้จากภาษีอากรนั้นจะทำรายได้ให้น้อยมาก เพราะการปกครองในสมัยโบราณใช้วิธีเกณฑ์แรงงานและทรัพย์สินจากราษฎรมาช่วยงานของรัฐ รายได้ของรัฐบาลส่วนใหญ่มาจากการรับพาณิชย์ ดังปรากฏจากการคลังรัฐบาลในสมัยสุโขทัย ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้จากการแต่งสำเภาไปค้าขาย รองลงมาได้แก่รายได้จากการสงคราม เช่นทรัพย์สินที่ยึดได้และเครื่องราชบรรณาการ ที่ประเทศราชต้องส่งให้เป็นต้น สำหรับภาษีอากรนั้น สมัยสุโขทัยมีการยกเว้นไม่จัดเก็บ ทางด้านรายจ่ายของรัฐบาลในสมัยโบราณนับว่ามีความสำคัญน้อยมาก เพราะได้รับความร่วมมือจากราษฎรช่วยกันสละแรงงาน และทุนทรัพย์ในการสร้างถาวรวัตถุ ถนนหนทาง และคูคลอง
          การคลังในสมัยอยุธยา  การคลังรัฐบาลของไทยเริ่มเป็นระเบียบแบบแผนในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดตั้งจตุสดมภ์
4 มี ขุนเวียง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา โดยขุนคลัง จะเป็นผู้รักษาเงินและทรัพย์สมบัติมีค่าของแผ่นดิน แต่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ และเริ่มเก็บภาษีอากรบางประเภทเพื่อเป็นรายได้เข้าคลังแผ่นดิน ส่วนรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเพื่อทำสงคราม เพราะในสมัยอยุธยานี้ยังมีศึกกับพม่าติดพันอยู่ แต่การสงครามนี้ก็มิได้ใช้จ่ายเป็นเงินทองโดยตรงมากนัก ส่วนใหญ่ใช้วิธีเกณฑ์ผู้คนและทรัพย์สิน และจ้างข้าราชการในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ ก็ใช้ทำเนียบศักดินาให้เป็นที่ดินเท่านั้นเท่านี้ไว้ตามยศ เช่น เจ้าพระยาให้ถือครองที่ดินได้ 10,000 ไร่ขึ้นไป ขุนนางผู้น้อยได้ตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป เป็นต้น รัฐบาลจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินเดือนค่าจ้างในปัจจุบัน
          การคลังในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการจัดเก็บภาษีอากรเป็นรายได้ตั้งเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือ อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอน อากรตลาด ค่าน้ำ อากรสมพัตสร และอากรสวน แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก รายได้ส่วนใหญ่ได้จากรัฐพาณิชย์ด้วยการแต่งสำเภาจีนไปค้าขายที่เมืองจีน ซึ่งให้ผลกำไรจำนวนมาก และในรัชกาลที่
1 นี้ เริ่มมีการรายงานการเงินแผ่นดินเป็นประจำก่อนเสด็จขึ้นพระแท่นที่ออกขุนนางในตอนเช้า ทำนองเดียวกันกับการกำหนดให้รายงานการเงินต่อรัฐสภาเป็นประจำปีในปัจจุบัน
          ในสมัยรัชกาลที่
3 ได้แก้ไขวิธีการจัดเก็บผลประโยชน์แผ่นดินหลายประการ คือ ทรงเก็บค่านาเป็นตัวเงินแทนการเก็บเป็นข้าวเปลือกขึ้นฉางหลวงอย่างเดิม และได้ทรงจัดตั้งภาษีขึ้นใหม่หลายอย่าง คำว่าภาษี จึงได้ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้เอง และได้ทรงจัดวิธีเก็บภาษีให้ เจ้าภาษี รับประมูลผูกขาดตัดตอนไป การให้ผูกขาดตัดตอนไปนี้ช่วยให้ได้เงินภาษีในจำนวนที่แน่นอน แต่ก็เป็นเรื่องเดือดร้อนแก่ราษฎร เพราะผู้รับผูกขาดชักเก็บจากการประกอบอาชีพของราษฎรแทบทุกประเภท และเอารัดเอาเปรียบราษฎรมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการผูกขาด มาให้รัฐบาลดำเนินการจัดเก็บเสียเอง และงดเก็บในท้องที่แห่งอื่น ให้คงไว้เฉพาะในเขตพระนครเท่านั้น แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า ภาษีภายใน เรียกเก็บจากผู้ค้าสิ่งของบางอย่างในประเทศ เช่น ภาษีไม้ต่าง ๆ มีภาษีเสาไม้แท่น ไม้ทุบเปลือก ไม้ตงตอม่อ ไม้สัก ไม้กระยาเลย ภาษียาสูบ กัญชา พริกไทย ฟักแฟง อ้อย ถั่ว งา พริก น้ำตาล เกลือ ไข่ หมู เป็นต้น ภาษีภายในนี้เป็นมูลฐานของการจัดเก็ยภาษีสรรพากร และสรรพสามิต เช่น ภาษีปูนซีเมนต์ ภาษีไม้ขีดไฟ เป็นต้น และได้จัดเก็บมาจนถึงปี พ.ศ. 2470 จึงยกเลิก
          การคลังรัฐบาลของไทยเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.
2475 ตามระบอบนี้การจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ในระยะนี้รัฐบาลได้นำหลักการคลังจากต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะแก่ภาวะของประเทศ เริ่มมีการจัดทำงบประมาณประจำปี แสดงรายรับและรายจ่ายเงินแผ่นดิน ปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีอากรตามแบบอย่างในประเทศ มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งปัจจุบันเป็นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ ส.ต.ง. ขึ้นตรวจตราการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้ถูกต้องตามรายการที่รัฐสภาได้อนุมัติทางด้านรายจ่ายของรัฐบาล ก็เริ่มมีจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามความจำเป็นในการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศ
งบประมาณแผ่นดิน
          งบประมาณแผ่นดิน เป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้ และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลตามโครงการต่าง ๆ งบประมาณรายได้ของรัฐบาลส่วนใหญ่ได้มาจากเงินภาษีอากรที่จัดเก็บจากประชาชนทั่วไป เมื่อรัฐบาลจะนำเงินเหล่านี้ไปใช้จ่ายจึงต้องผ่านการกลั่นกรองของรัฐสภาในฐานะเป็นผู้แทนของประชาชน การจัดทำงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี สำนักงบประมาณจะเป็นผู้รวบรวมโครงการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรม จัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับใช้แก่ราษฎร โดยการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา เพราะการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น การใช้จ่ายเงินของรัฐบาล และการเรียกว่าพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เป็นการให้อำนาจรัฐบาลไปดำเนินการจัดสรรรายได้ และใช้จ่ายเงินตามรายการที่รัฐสภาได้อนุมัติ
1. หลักการของงบประมาณแผ่นดิน
          การคลังรัฐบาลในประเทศประชาธิปไตย จะต้องกระทำร่วมกันโดยฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา กับฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล เมื่อรัฐบาลจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเสร็จแล้ว รัฐสภาจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติว่า การประกอบกิจการอย่างใดควรจะใช้จ่ายเงินมากน้อยเพียงใด และเงินที่จะใช้จ่ายตามโครงการนั้น จะหามาได้โดยวิธีใดเมื่อรัฐบาลกำหนดขอบเขตมาเป็นอย่างใดแล้ว รัฐบาลก็จะต้องดำเนินการจัดเก็บภาษีอากร และใช้จ่ายเงินไปตามขอบเขตที่รัฐสภาได้อนุมัติไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของงบประมาณ
3 ประการ คือ
 
         (1) ในประเทศประชาธิปไตยนั้น ฝ่ายบริหารจะจัดเก็บรายได้ และใช้จ่ายเงินได้โดยอนุมัติของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะการปกครองระบบนี้ถือว่าอำนาจสูงสุดมากจากปวงชน ซึ่งการใช้อำนาจนั้น ๆ ทางรัฐสภา บรรดาตัวบทกฎหมายรวมทั้งพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ที่จะใช้บังคับแก่ราษฎรได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน ฝ่ายบริหารจึงจะดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ
          (
2) บรรดาเงินที่เก็บมาได้ทั้งสิ้นจะต้องนำส่งคลังแผ่นดิน และบรรดาเงินที่จ่ายออกไปก็ต้องใช้จ่ายจากคลัง เพระถือว่าบรรดาเงินที่จัดเก็บได้นั้นเป็นรายได้รวมของแผ่นดิน มิใช่เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ ตามหลักนี้ส่วนราชการใดจัดเก็บรายได้ได้แล้วจะนำไปใช้จ่ายโดยตรงมิได้ อย่างเช่นเจ้าหน้าที่สรรพากรจังหวัดจัดเก็บภาษีได้ทุกบาททุกสตางค์ จะต้องนำส่งคลังจังหวัด จะนำมาจ้างเจ้าหน้าที่ หรือซื้อยานพาหนะสำหรับตรวจเก็บภาษีโดยตรงไม่ได้ จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเสียก่อน และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายก็ต้องได้รับอนุมัติตามวิธีการงบประมาณเสียก่อน ตามหลักนี้ย่อมช่วยให้การควบคุมการเงินของแผ่นดินสะดวกและรัดกุมยิ่งขึ้น
          (
3) จะต้องมีการกำหนดเงินรายได้ และรายจ่ายของประเทศเป็นการล่วงหน้าในระยะต่อไป ฝ่ายบริหารจะประกอบกิจการอะไร ต้องใช้จ่ายเงินตามโครงการแต่ละโครงการมากน้อยเท่าใด และจะหารายได้มาใช้จ่ายด้วยวิธีใด เพื่อให้เป็นการเหมาะสมและประหยัด เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะควบคุมกิจการของฝ่ายบริหารโดยละเอียดรอบคอบ
          การจัดทำงบประมาณประจำปีนั้น จะต้องแสดงรายละเอียดในภาระหน้าที่ที่รัฐบาลพึงปฏิบัติโดยครบถ้วนในแง่ของระยะเวลา จะต้องแสดงข้อความให้คลุมถึงผลการบริหารการเงินของประเทศในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน และประมาณการที่จะเป็นสำหรับในระยะเวลาข้างหน้า ในแง่ที่จะแสดงการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล ก็ต้องแสดงรายการที่รัฐบาลจะปฏิบัติจัดทำอยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการใด รวมทั้งจะต้องใช้จ่ายมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้งบประมาณประจำปีควรจะชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลควรมีนโยบายเน้นหนักไปในทางใด และรายการต่าง ๆ ที่แสดงไว้ในงบประมาณ ควรจะแสดงไว้อย่างง่าย ๆ และละเอียดพอที่บุคคลทั่ว ๆ ไป จะสามารถทำความเข้าใจและทราบถึงความมุ่งหมายและวิธีดำเนินงานของรัฐบาล อันเป็นสิ่งสำคัญในระบอบประชาธิปไตย
 
2. ลักษณะของงบประมาณที่ดี
          งบประมาณที่ดีควรมีคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ 
          2.1 ต้องเป็นศูนย์รวมเงินแผ่นดิน หมายความว่า รายรับและรายจ่ายของรัฐบาลทุกรายการจะต้องปรากฏอยู่ในงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ไม่ควรกระจัดกระจายไปอยู่ตามงบต่าง ๆ ที่เรียกว่า งบพิเศษ หรือเงินนอกงบประมาณ เพราะนอกจากจะทำให้รัฐบาลสามารถพิจารณาโครงการหรือกิจการต่าง ๆ ตามความสำคัญมากน้อยก่อนหลังให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และความต้องการที่แท้จริงของประชาชนแล้ว ยังช่วยขจัดปัญหาเรื่องทำงานซ้ำซ้อนกัน และทำให้เกิดการประหยัดขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี ในบางกรณีก็ความจำเป็นที่จะต้องตั้งเงินงบพิเศษไว้ต่างหากจากงบประมาณแผ่นดินการตั้งงบประมาณแผ่นดินนี้ถ้าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยก็จะก่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ แต่ถ้าเงินงบพิเศษไว้ต่างหากจากงบประมาณแผ่นดิน การตั้งงบประมาณแผ่นดินนี้ถ้าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยก็จะก่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ แต่ถ้าเงินงบพิเศษมีจำนวนมากก็อาจเกิดการรั่วไหล ควบคุมดูแลได้ยาก
         
2.2 ต้องถือหลักพัฒนา หมายความว่า ในการจัดเตรียมงบประมาณรายรับ และ รายจ่าย จะต้องพยายามทำให้งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือที่จะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศให้มากที่สุด
         
2.3 ต้องถือหลักประหยัด ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณรายรับ หรืองบประมาณรายจ่าย ถ้าเป็นงบประมาณรายรับก็หมายความว่าในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐจะต้องพยายามให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ส่วนงบประมาณรายจ่ายก็หมายความว่า การใช้จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ในงบประมาณจะต้องกระทำอย่างมีประสิทธิภาพ คือ เสียเงินค่าใช้จ่ายน้อยแต่ได้ผลเต็มที่
         
2.4 ต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสม ตามปกติระยะเวลาของงบประมาณมีกำหนดเวลา 1 ปี ( 12 เดือน ) เรียกว่าปีงบประมาณ แต่ละประเทศอาจมีวันเริ่มต้น และสิ้นสุดของปีงบประมาณไม่พร้อมกัน เช่น ปีงบประมาณของไทยเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป ตัวอย่างเช่น ปีงบประมาณ 2534 ของไทย จะเริ่ม 1 ตุลาคม 2533 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2534 เป็นต้น
          การที่ประเทศต่าง ๆ มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงบประมาณไม่พร้อมกันก็เพราะการกำหนดไว้ให้เหมาะแก่สภาพการณ์ของแต่ละประเทศ งบประมาณที่มีกำหนดเวลาไม่ครบ
12 เดือน อาจเกิดขึ้นได้เมื่อรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินรีบด่วนและมิได้ตั้งไว้ในงบประมาณประจำปี จึงต้องจัดทำงบประมาณเพื่อกิจการนั้น ๆ ขึ้นใหม่ เสนอขออนุมัติรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษ เรียกว่า งบประมาณเพิ่มเติม
3. นโยบายงบประมาณ
          รัฐบาลดำเนินนโยบายงบประมาณโดยการเปลี่ยนแปลงรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลโดยการเพิ่มลดภาษีอากร เพิ่มลดการใช้จ่าย และการก่อหนี้ของรัฐบาลซึ่งแสดงออกมาในรูปของงบประมาณเพื่อให้เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจของประเทศ นโยบายงบประมาณนี้มี
3 ลักษณะ คือ
         
3.1 งบประมาณสมดุล คือ รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมีจำนวนเท่ากัน เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 100,000 ล้านบาท และรัฐสภาสามารถจัดเก็บรายได้จากราษฎร ได้เงิน 100,000 ล้านบาท เท่ากับรายจ่ายพอดี เป็นต้น
         
3.2 งบประมาณขาดดุล คือรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่าย เช่นรัฐบาลมีรายจ่าย 100,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลจัดเก็บรายได้จากราษฎรได้เพียง 80,000 ล้านบาท รายได้น้อยกว่ารายจ่าย 20,000 ล้านบาท ส่วนที่ขาดอยู่นี้ รัฐบาลอาจแก้ไขโดยกู้เงินจากสถาบันการเงินมาชดเชยส่วนที่ขาด เพื่อที่จะได้เพียงพอกับรายจ่าย เป็นต้น
         
3.3 งบประมาณเกินดุล คือ รายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 100,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลสามารถเก็บรายได้จากราษฎรได้ถึง  110,000 ล้านบาท  รายได้ของรัฐบาลจึงสูงกว่ารายจ่าย 10,000 ล้านบาท เป็นต้น     
4. การประมาณการรายได้รายจ่าย
          เนื่องจากการทำงบประมาณประจำปีจะต้องทำล่วงหน้า โดยให้รายจ่ายเป็นเครื่องกำหนดรายได้ กล่าวคือ รัฐบาลจะพิจารณาถึงโครงการที่คาดว่าจะทำเพื่อประมาณการจำนวนเงินที่จะใช้จ่ายเสียก่อน แล้วจึงประมาณการหรือคาดว่าจะเก็บภาษีอากรได้สักเท่าใด ถ้าคาดว่าจะเก็บรายได้ไม่เพียงพอกับงบประมาณที่จะใช้จ่าย รัฐบาลจะต้องหาทางกู้หรือเอา เงินคงคลัง มาชดเชยให้พอกับรายจ่ายการประมาณการทางการคลังรัฐบาล จำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ
4.1 การประมาณการรายจ่าย รายจ่ายส่วนมากเป็นไปตามโครงการซึ่งทราบล่วงหน้าและรัฐบาลสามารถควบคุมรายจ่ายได้เป็นส่วนใหญ่ การประมาณการรายจ่าย จึงอาจทำได้ 2 วิธีคือ
          (1)  คำนวณเป็นงบตายตัว ใช้คำนวณรายจ่ายที่มีลักษณะแน่นอนและคงตัว ได้แก่ รายจ่ายประจำ หรือรายจ่ายที่อาจทราบได้ล่วงหน้า เช่น  เงินเดือน ค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้ข้าราชการ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะต้องชำระให้เจ้าหน้าที่ เป็นต้น ผู้ประมาณการจึงเป็นแต่เพียงยึดตัวเลขที่ทราบล่วงหน้า แล้วมาแสดงไว้ในงบประมาณรายจ่าย
          (2) คำนวณเป็นงบคาดคะเน ใช้สำหรับรายจ่ายที่มีลักษณะไม่แน่นอน เช่น ค่าก่อสร้าง อาคารสถานที่ ค่าวัสดุครุภัณฑ์ เป็นต้น ผู้ทำประมาณการจะใช้รายการในปีก่อน ๆ มาเป็นเกณฑ์การคำนวณแล้วใช้ข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ปัจจุบันประกอบการประมาณการที่จะใช้จ่ายในปีต่อไป
4.2 การประมาณการรายได้ รายได้ของรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่  ภาษีอากรที่เก็บจากราษฎรนั้น เป็นสิ่งที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากกว่ารายจ่าย การประมาณการรายได้จะต้องจัดเก็บตัวเลขสถิติการจัดเก็บภาษีอากรในปีที่ล่วงมาและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ทำประมาณการรายได้จะต้องคอยติดตามและคอยสังเกตภาวะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกระยะ เพื่อให้การประมาณการรายได้ถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การจัดทำงบประมาณประจำปีของไทย
 1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ  งานจัดทำงบประมาณของไทยในเบื้องต้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่งบประมาณของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่จะเสนอโครงการและประมาณการรายได้รายจ่ายเสนอสำนักงบประมาณซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณนับเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่และบทบาทสำคัญในการจัดทำงบประมาณประจำปี โดยเริ่มตั้งแต่จัดเตรียมงบประมาณร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม วิเคราะห์แผนงานและโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของแต่ละหน่วยราชการ แล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2. ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ  การจัดทำงบประมาณประจำปีของรัฐบาลไทยดำเนินตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ดำเนินการจัดทำงบประมาณประจำปีขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา และตราออกเป็นพระราชบัญญัติปีงบประมาณของไทย เริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคมและสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป การจัดทำงบประมาณของรัฐบาลจะกระทำเป็นขั้นตอนตามวงจร ประมาณ 3 ขั้น คือ
          (1) ขั้นจัดเตรียมงบประมาณ
          (2) ขั้นการอนุมัติงบประมาณ
          (3) ขั้นการบริหารและควบคุมงบประมาณ
          นักเรียนอาจสังเกตขั้นตอนการจัดทำงบประมาณได้ตามแผนภูมิวงจรงบประมาณ ดังต่อไปนี้

ตามแผนภูมิจะเห็นว่าทั้ง 4 ขั้นทางซ้ายมือก็คือชั้นในการจัดเตรียม ทางขวามือทั้ง 6 ขั้นก็คือ การควบคุมงบประมาณ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
1. การจัดเตรียมงบประมาณ มีลำดับขั้นดังนี้
          (1) สำนักงบประมาณจะแจ้งให้หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจทราบถึงกำหนดการจัดทำงบประมาณว่างนขั้นไหนจะต้องทำให้เสร็จเมื่อใด จากนั้นแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ก็จะคำนวณตัวเลขค่าใช้จ่าย ส่งมายังสำนักงบประมาณ
          (2) เมื่อทราบตัวเลขที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ประมาณการขึ้นแล้ว หลังจากเรื่องต่าง ๆ ที่จะเสนอคือ
                   - งบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นเท่าไร
                   - ประมาณการรายจ่ายได้เท่าไร
                   - ถ้าเป็นงบประมาณขาดดุล ส่วนที่กู้ขาดเท่าใด และใช้เงินคงคลังเท่าใด
                   - ถ้าเป็นไปตามนี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีผลต่อภาวะเงินเฟ้อ ดุลการค้า ดุลการชำระเงินของประเทศอย่างไร
          เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว สำนักงบประมาณจะแจ้งกลับไปยังกระทรวง ทบวง และกรมต่าง ๆ ให้แจ้งรายละเอียดมายังสำนักงบประมาณว่าในวงเงินนี้ที่ได้รับอนุมัติ หน่วยงานราชการจะนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง เพื่อทางสำนักงบประมาณจะได้นำรายละเอียดนั้นมาพิมพ์รวมเล่มเป็นเอกสารงบประมาณประจำปีนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
          (4) หลังจากขั้นที่ 3 แล้ว คณะรัฐมนตรีจึงจะนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภาต่อไป
2. การอนุมัติงบประมาณ หมายถึง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีของรัฐสภา ซึ่งจะแยกพิจารณา เป็น 3 วาระ ดังนี้
          วาระที่ 1 จะรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีหรือไม่ ถ้ารับก็ดำเนินการตามวาระ ที่ 2 ต่อไป
          วาระที่ 2 เมื่อรับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว วาระที่ 2 รัฐสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นแปรบัญญัติ (พิจารณาแก้ไข) คณะกรรมาธิการจะประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพิจารณาแก้ไขตัดทอนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
          วาระที่ 3 เมื่อพิจารณาแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมาธิการจะเสนอว่า พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติเพื่อบังคับใช้ต่อไป
3. การบริหารและควบคุมงบประมาณ  เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีประกาศใช้แล้ว ส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณและต้องการจะใช้จ่ายจะต้องขออนุมัติใช้ เงินประจำงวด ซึ่งมี 3 งวด งวดละ 4 เดือนต่อสำนักงบประมาณ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วส่วนราชการนั้น ๆ จึงจะดำเนินการจัดซื้อ หรือจัดจ้างตามรายการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี
          เมื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามงบประมาณแล้ว ส่วนราชการในส่วนกลางจะต้องยื่นฎีกาที่คลังจังหวัด หรือคลังอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานของกรมบัญชีกลาง (สังกัดกระทรวงการคลัง) ถ้าเป็นส่วนกลางในภูมิภาคให้ยื่นฎีกาที่คลังจังหวัด หรือคลังอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานของกรมบัญชีกลาง เมื่อกรมบัญชีกลาง คลังจังหวัด หรือคลังอำเภอตรวจสอบฎีกาเบิกเงินเห็นว่าถูกต้องแล้วก็จะอนุมัติฎีกา ให้ส่วนราชการนั้นเบิกจ่ายเงินต่อไป
          การที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการ ขออนุมัติใช้เงินคราวละน้อย ๆ เป็นงวด ๆ ที่เรียกว่า เงินประจำงวด ไม่ยอมให้ใช้เงินประมาณหมดทั้งก้อนในคราวเดียวกันก็เพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ ให้ปริมาณเงินที่ใช้จ่ายกระจายออกไปตลอดปี ให้ตรงกับแผนงานที่กำหนดไว้และรัฐบาลจะได้ควบคุมเพิ่มลดการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการได้สะดวก ทำนองเดียวกัน ผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานไปเรียนที่อื่นจะไม่จ่ายเงินให้นักเรียนทั้งก้อนเพื่อให้ใช้ตลอดปี แต่จะส่งเงินมาเป็นงวด ๆ เพื่อจะได้คอยควบคุมดูแลการใช้จ่ายของบุตรหลานได้สะดวก ถ้างวดแรกไม่พอใช้และนักเรียนมีเหตุผลดีพอ ผู้ปกครองก็จะจ่ายเงินเพิ่ม แต่ถ้าปรากฏว่างวดแรกนักเรียนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ก็อาจตัดทอนค่าใช้จ่ายงวดถัดไปลง แต่ถ้าส่งเงินมาให้คราวเดียวจำนวนมาก นักเรียนอาจใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนไม่พอใช้ตลอดปี ตามแผนภูมิวงจรงบประมาณข้างต้น นักเรียนจะเห็นขั้นตอนกาควบคุมงบประมาณลำดับจากข้อ 1 ขึ้นไป ดังนี้

(1) ควบคุมโดยสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณจ่ายเงินให้แก่หน่วยราชการเป็นงวด ปีงบประมาณหนึ่ง ๆ มี 3 งวด งวดละ 4 เดือน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการว่าเป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด

(2) ควบคุมโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายของหน่วยงานราชการให้อยู่ภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ และให้เป็นไปตามประเภทของงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ เช่น จะเอางบประมาณที่ได้รับสำหรับสร้างตึกไปใช้ซื้ออุปกรณ์ครุภัณฑ์ใด ๆ ไม่ได้ แม้ว่าวงเงินจะไม่สูงกว่าการสร้างตึกก็ตาม นอกจากนี้การจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีเอกสาร และใบสำคัญครบถ้วน
     กล่าวโดยสรุป สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางจะควบคุมตั้งแต่เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีออกใช้จนถึงตอนที่ส่วนราชการขอเบิกจ่าย

 (3) ควบคุมโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( ส.ต.ง.) หลังจากที่ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำตามส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบดูว่าหน่วยราชการเบิกเงินไปใช้ตามรายการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายหรือไม่เพียงใด เพื่อประโยชนที่ว่าหากหน่วยราชการจ่ายเงินไปใช้ในทางที่ผิดจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที       เมื่อสิ้นปีงบประมาณ กระทรวงการคลังจะรายงานการรับจ่ายเงินประจำปี งบประมาณที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอรัฐสภาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุมัติตามพระราชบัญญัติงบประมาณในปี ต่อๆไป


รายจ่ายของรัฐบาลไทย
        รายจ่ายของรัฐบาล คือการใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นการใช้จ่ายในสิ่งที่รัฐบาลต้องทำเพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศ เช่น ป้องกันและรักษาความสงบของประเทศ ให้บริการที่จำเป็นแก่สังคม ส่งเสริมและควบคุมการผลิตการจำหน่าย ดำเนินการกระจายรายได้ของบุคคล  เป็นต้น
          ลักษณะงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล มี ๔ ลักษณะ ดังนี้
. งบประมาณรายจ่ายจำแนกตามโครงสร้างแผนงาน 
          .๑ กลุ่มภารกิจทางการบริหาร   จำแนกเป็น 
                   ..๑ ด้านการบริหารงานของรัฐ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพ   โปร่งใส  และเป็นธรรม   มีการตรวจสอบของประชาชนและรับข้อมูลข่าวสารถึงความคืบหน้าในการบริหารงานภาครัฐ 
                   ..๒ ด้านการพัฒนาระบบการเมือง  เพื่อเป็นมาตรการสนับสนุนและพัฒนาระบอบการเมืองไทย 
                   ..๓ ด้านการสนับสนุนกิจการในพระองค์ เพื่อสนับสนุนกิจการส่วนพระองค์และโครงการตามพระราชดำริ 
             .๒ กลุ่มภารกิจทางเศรษฐกิจ จำแนกเป็น 
                     ..๑ ด้านการผลิตและการสร้างรายได้   เพื่อส่งเสริมการผลิตเพื่อสร้างรายได้และเสริมสร้างเสถียรภาพการแข่งขัน 
                   ..๒ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการพลังงาน  เพื่อดูแลพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศอย่างยั่งยืน 
                   ..๓ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
                   ..๔ ด้านการขนส่ง  เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมและขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการคมนาคมขนส่งของภูมิภาค 
                     ..๕ ด้านการบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐ  เพื่อบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง 
             .๓ กลุ่มภารกิจทางสังคม  จำแนกเป็น 
                   ..๑ ด้านการพัฒนาประชากร  เพื่อพัฒนาประชากรให้มีสุขภาพ มีความรู้ ความคิดกว้างไกล มีพลานามัยและมีศักยภาพด้านกีฬา มีวัฒนธรรมที่ดีงาม เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมมีคุณภาพ เป็นสังคมแห่งความรู้คู่คุณธรรมพร้อมนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มีชื่อเสียง เกียรติ และ ศักดิ์ศรี สามารถดำรงตนร่วมกับสังคมโลกได้อย่างมีความสุข 
                   ..๒ ด้านการบริการสังคมและชุมชน  เพื่อจัดระเบียบสังคม ความเป็นธรรมในการดำเนินชีวิต พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีงานทำ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาสังคม 
            .๔ กลุ่มภารกิจทางความมั่นคง 
                   ..๑ ด้านความมั่นคง   เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติ การรักษาอธิปไตย การจัดระเบียบสังคม เสริมสร้างความสงบสุขของสังคม เพื่อให้ประชาชนมีความมั่งคั่งและประเทศชาติมีความมั่นคง  
         
. งบประมาณรายจ่ายจำแนกตามลักษณะงานและลักษณะเศรษฐกิจ
          .๑ การจำแนกตามลักษณะงาน เป็นการแสดงงบประมาณรายจ่ายตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรม
ต่างๆ ของรัฐบาล   โดยยึดถือหลักการในการจำแนกรายจ่ายรัฐบาลของสำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ   ซึ่งได้จำแนก
การดำเนินงานของรัฐบาลตามวัตถุประสงค์อย่างกว้างขวางออกเป็นด้านต่างๆ ๑๔ ด้าน ภายใต้ลักษณะงาน ๔ ประเภท ดังนี้ 
          (๑) การบริหารทั่วไป  ดำเนินการตามลักษณะงาน  ดังนี้ 
                (๑.๑) การบริหารทั่วไปของรัฐ  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินกิจกรรมขององค์กรนิติบัญญัติ การบริหารการเงิน การคลัง การบริหารงานบุคคลกลาง การจัดทำสถิติ  การจัดการการเลือกตั้ง  การบริหารงานต่างประเทศ   การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการวิจัยพื้นฐาน 
                (๑.๒) การป้องกันประเทศ  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม  และการรักษาดินแดนโดยฝ่ายพลเรือน   ทั้งสมาชิกอาสารักษาดินแดน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 
                (๑.๓) การรักษาความสงบภายใน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของงานตุลาการ อัยการ ตำรวจ การป้องกันอัคคีภัย และงานราชทัณฑ์ 
          (๒) การบริการชุมชนและสังคม
ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามลักษณะงาน  ดังนี้
                (๒.๑) การศึกษา  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา   การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษานอกโรงเรียน   และการจัดทุนการศึกษา ง บประมาณจำนวนดังกล่าว  รวมถึงเงินอุดหนุนกรุงเทพมหานคร  และองค์กรบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการด้านการศึกษา
                (๒.๒) การสาธารณสุข  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณสุขทั้งการวางแผน การบริหารการดำเนินงานโรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆ และการให้ความรู้และบริการด้านสุขภาพอนามัย  ทั้งที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขและส่วนราชการอื่น
                (๒.๓) การสังคมสงเคราะห์  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการประกันสังคมให้แก่บุคคลผู้สูญเสียรายได้เนื่องจากเจ็บป่วย คลอดบุตรและเป็นการให้ประโยชน์ทดแทนแก่บุคคลทั่วไปลูกจ้างของรัฐกรณีเกษียณอายุ   เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์   โดยการจัดสถานสงเคราะห์แก่บุคคลประเภทต่างๆ  รวมทั้งการสงเคราะห์อื่น เช่น กรณีประสบภัยพิบัติ
               (๒.๔) การเคหะและชุมชน  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานจัดหาที่พักอาศัย และการกำหนดมาตรฐาน  การวางผังเมือง การพัฒนาชุมชน ตลอดจนการจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค   การดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การกำจัดของเสียและการระบายน้ำ  การควบคุมและกำจัดมลภาวะ
และมลพิษ 
                (๒.๕) การศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรมพลศึกษา ในส่วนที่เป็นนโยบาย นอกเหนือจากการจัดการศึกษา นอกจากนั้นยังเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรมของกรมศิลปากรและการศาสนาของกรมการศาสนา และเป็นค่าใช้จ่ายในการกระจายเสียงและจัดระบบโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์  ตลอดจนการบริหารด้านสิ่งพิมพ์ต่างๆ ค่าจัดสร้างสวนสาธารณะ หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และสวนพฤกษศาสตร์  
                  (๓) การเศรษฐกิจ  จำแนกตามกลุ่มกิจกรรมได้  ดังนี้
                 (๓.๑) การเชื้อเพลิงและพลังงาน  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจ จัดหา พัฒนา และควบคุมทรัพยากรเชื้อเพลิงและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานต่างๆ
                 (๓.๒) การเกษตร  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ดิน การจัดที่ดินทำกินให้เกษตรกร การพยุงราคาผลผลิต การส่งเสริมการเกษตร การปศุสัตว์ การควบคุมศัตรูพืช การป่าไม้  การประมงและการค้นคว้าวิจัยทางการเกษตร
                 (๓.๓) การเหมืองแร่ ทรัพยากรธรณี การอุตสาหกรรม และการโยธา  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรณี และการส่งเสริมการควบคุมอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมและการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ รวมทั้งการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและ
รายจ่ายเพื่อชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างในงบกลาง
                 (๓.๔) การคมนาคมขนส่งและสื่อสาร  เพื่อใช้ในการบริหารและก่อสร้างระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนการสื่อสาร ซึ่งไม่รวมระบบโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ซึ่งจัดอยู่ในลักษณะงานนันทนาการ วัฒนธรรมและศาสนา
                 (๓.๕) การบริการเศรษฐกิจอื่น  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทางด้านการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศ และการพาณิชย์ต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนการควบคุมการดำเนินกิจการ
โรงแรมและภัตตาคาร การส่งเสริมการท่องเที่ยว การแรงงาน และดำเนินโครงการอเนกประสงค์ต่างๆ  
          (๔) อื่น ๆ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ กลุ่มย่อย คือ
                  () การชำระหนี้เงินกู้ เป็นการชำระคืนต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
                  () เงินโอนให้ท้องถิ่น  เฉพาะที่เป็นเงินช่วยเหลือครูในท้องถิ่น
                  () ค่าใช้จ่ายอื่น เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมที่ไม่สามารถจำแนกเข้าลักษณะงานที่กล่าวมาข้างต้นได้อาทิ รายจ่ายชำระหนี้ค่าสาธาณูปโภค และเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
  .๒ การจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ หมายถึง การจำแนกงบประมาณรายจ่ายเพื่อแสดงให้เห็นผลทาง
เศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยจำแนกเป็นรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายประจำ
          รายจ่ายลงทุน หมายถึง การใช้จ่ายเพื่อจะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ และรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
   ซึ่งถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนของหน่วยราชการ
          รายจ่ายประจำ
  หมายถึง รายจ่ายเพื่อใช้ในการบริหารงานประจำ   เป็นรายจ่ายประเภท
เงินเดือน ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดซื้อบริการและสิ่งของที่ไม่เป็นสินทรัพย์ประเภททุน
.งบประมาณรายจ่ายจำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน
          
ได้จัดสรรให้แก่กระทรวงต่าง ๆ เพื่อดำเนินงาน/โครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตามภารกิจและยุทธศาสตรในการดำเนินงานของแต่ละส่วนราชการ ดังนี้
          ๑. งบกลาง
          ๒. สำนักนายกรัฐมนตรี
          ๓. กระทรวงและทบวง
          ๔. ส่วนราชการไม่สังกัดนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
          ๕. รัฐวิสาหกิจ
          ๖. กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน

 . งบประมาณที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
              รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ
 กำหนดให้มีการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุนและรายได้อื่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการดำเนินการในภารกิจที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 
ข้อมูลจาก สำนักงบประมาณ
รายรับของรัฐบาลไทย
รายรับของรัฐบาล (Government Receipt) หมายถึง รายได้ของรัฐบาลรวมกับเงินกู้
         
 ในการบริหารประเทศในแต่ละปี รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานที่ตั้งไว้ ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องแสวงหา รายได้เพื่อนำไปสนับสนุนรายจ่าย รายรับของรัฐบาลมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ
 ๑.  รายได้ของรัฐบาล (Government Revenue)
 ๒.  เงินกู้ของรัฐบาล หรือ หนี้สาธารณะ (Public Debt)
 ๓.  เงินคงคลัง (Treasury Cash Balances)
รายรับของรัฐบาล = รายได้ของรัฐบาล + เงินกู้ของรัฐบาล + เงินคงคลัง
รายได้ของรัฐบาล (
Government Revenue)
          รายได้ของรัฐบาล หมายถึง รายได้ประเภทต่าง ๆ ที่รัฐบาล สามารถจัดหามาได้จากแหล่งสำคัญต่างๆ 
แหล่งที่มาของรายได้ของรัฐบาล แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
 ๑. รายได้จากภาษีอากร (Tax Revenue) ถือว่าเป็นรายได้หลักของรัฐบาล คือประมาณร้อยละ ๙๐ ของรายได้ทั้งหมด การจัดเก็บภาษีในแต่ละปี รัฐบาลต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ตลอดจนต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลและความสามารถในการเสียภาษีของประชาชน ควบคู่กันไป ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม
 ๒. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร (Non - Tax Revenue) เป็นรายได้อื่นของรัฐบาลนอกเหนือจากภาษีอากร ได้แก่
 ๒.๑  รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ รัฐบาลมีรายได้จากการขายสิ่งของและบริการเช่นค่าธรรมเนียม ค่าเช่าที่ดิน ค่าขายเอกสาร หรือหนังสือราชการ ค่าขายของกลางที่ยึดได้ ค่าขายครุภัณฑ์
 ๒.๒ รายได้จากรัฐพาณิชย์ ได้แก่ กำไรและเงินปันผลจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือรัฐบาลมีหุ้นส่วน เช่น รายได้จากการไฟฟ้า โรงงานยาสูบ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น รายได้จากแหล่งนี้คิดเป็นร้อยละของรายรับทั้งหมดอยู่ในอัตราต่ำเช่นกัน
 ๒.๓ รายได้อื่น ได้แก่รายได้จากค่าปรับ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รายได้จากกิจการผลิตเหรียญกษาปณ์ รายได้จากแหล่งนี้คิดเป็นร้อยละของรายรับทั้งหมดจะอยู่ในอัตราต่ำมาก
 ๒.๔ รายได้จากการปรับปรุงภาษีและค่าธรรมเนียม ได้แก่รายได้จากการปรับปรุงอัตราหรือประเภทของภาษีอากร หรืออัตราค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นระหว่างปี ดังนั้นรายได้ในส่วนนี้จะปรากฏเฉพาะปีที่มีการปรับปรุงเท่านั้น 
 ๒.๕ รายได้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ประเทศที่กำลังพัฒนามีรายได้จากการช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ หรือรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อใช้จ่ายพัฒนาประเทศตาม วัตถุประสงค์ของผู้ให้ความช่วยเหลือ






การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลไทย
        ภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก ่ผู้เสียภาษี ภาษีอากรมีลักษณะเป็นการบังคับเก็บ ประชาชนทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบในการเสียภาษี ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ พอจะสรุปได้ดังนี้
 ๑. เพื่อหารายได้ไปสนับสนุนรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งจัดว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุด 
 ๒. เพื่อกระจายรายได้ให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เช่น การจัดเก็บภาษีในอัตราสูงกับผู้ที่มีรายได้มาก และจัดเก็บในอัตราต่ำกับผู้มีรายได้น้อย
 ๓. เพื่อรักษาความก้าวหน้า และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลอาจเพิ่มภาษี เพื่อลดอำนาจซื้อของประชาชนลง
 ๔. การควบคุมหรือส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมการบริโภค รัฐบาลจำกัดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเพิ่มอัตราภาษีศุลกากร ในการนำเข้าให้สูงขึ้น 
          ในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบางประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
          ๑. มีความเป็นธรรม โดยพิจารณาถึง ความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชน และ ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เนื่องจากการดูแล คุ้มครองของรัฐบาล
          ๒. มีความแน่นอนและชัดเจน  ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และมีความชัดเจนเพื่อป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
          ๓. มีความสะดวก วิธีการและกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากร ควรต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร
          ๔. มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษี อากร ทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มาก โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
          ๕. มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ การเก็บภาษีอากร ต้องไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
          ๖. อำนวยรายได้ สามารถจัดเก็บภาษีอากรได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ของรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้ตามหน้าที่
          ๗. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากร ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
          ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

          (๑) ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีอากรที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องรับภาระภาษีไว้เองไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นต่อไปได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก เป็น
          (๒) ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่ไม่มีผลต่อผู้ชำระภาษีโดยตรง ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีให้แก่ผู้อื่นต่อไปได้ ส่วนมากเป็นภาษีด้านธุรกิจที่เก็บจากผู้ผลิตและผู้ขาย เช่น ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
         
 กระทรวงการคลังมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตดำเนินการจัดเก็บในการจัดเก็บภาษีโดยทั่วไปได้แบ่งอัตราภาษีที่จัดเก็บเป็น ๓ ประเภท คือ
          ๑. อัตราภาษีคงที่หรือตามสัดส่วน หมายถึง อัตราภาษีที่กำหนดไว้คงที่ตายตัวแม้ว่ามูลค่าของฐานภาษีจะเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือจำนวนรายรับจากภาษี การจัดเก็บภาษีในอัตราคงที่นี้ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมสำหรับผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกับผู้มีรายได้สูง ภาษีที่จัดเก็บโดยมีอัตราภาษีคงที่ ได้แก่ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
         
 ๒. อัตราภาษีแบบก้าวหน้า หมายถึง อัตราภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกับ ฐานภาษี 
กล่าวคือ เมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นด้วย การจัดเก็บภาษีในอัตราแบบก้าวหน้านี้ ถือว่าเป็นการจัดเก็บที่ยุติธรรมเพราะเก็บตามความสามารถในการเสียภาษี ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ภาษีอัตราแบบก้าวหน้านี้ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
         
 ๓. อัตราภาษีแบบถอยหลัง หมายถึง อัตราภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้ามกับฐาน
ภาษี กล่าวคือ เมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นอัตราภาษีจะลดลง การจัดเก็บภาษีแบบอัตราถอยหลังนี้ ผู้ที่รายได้ต่ำต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ ที่มีรายได้สูง ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น เช่น ภาษีการค้า เป็นต้น
หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี
. กรมสรรพากร
มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากรโดยให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี ทั้งหมด ๕ ประเภทได้แก่
          (๑.๑) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
          (๑.๒) ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวล และไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
          (๑.๓) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(Value Added Tax ) คือ เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการ นำเข้าสินค้า
          (๑.๔) ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.๒๕๓๕ พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
          (๑.๕) อากรแสตมป์ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร ๒๘ ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
. กรมสรรพสามิต มีหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เช่น น้ำมัน ยาสูบ สุรา เครื่องดื่ม ไพ่ เครื่องไฟฟ้า การซื้อขายรถยนต์ เรือ เป็นต้น
. กรมศุลกากร มีหน้าที่จัดเก็บภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร
           ในกรณีนำเข้าเรียกว่า
อากรขาเข้า สำหรับสินค้าที่จำเป็นส่วนมากเรียกเก็บในอัตราที่ต่ำ จะมีการเก็บในอัตราที่สูงในสินค้าฟุ่มเฟือย การกีดกันสินค้าต่างประเทศโดยการเพิ่มอัตราภาษีอากรนี้ เรียกว่า การตั้งกำแพงภาษี
          ในกรณีส่งออกเรียกว่า
อากรขาออก  ในปัจจุบันรัฐบาลได้จัดเก็บอากรขาออกจากสินค้าส่งออกน้อยชนิดมาก เพื่อเป็นการส่งเสริมสินค้าส่งออกนั่นเอง
. ภาษีที่ส่วนราชการอื่น ๆ จัดเก็บ ได้แก่  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่จัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน อากรฆ่าสัตว์ ฯลฯ กรมตำรวจ มีหน้าที่จัดเก็บภาษีการพนัน  กรมการขนส่งทางบก(การขับขี่รถยนต์) มีหน้าที่จัดเก็บภาษีรถยนต์  และ กรมประมง มีหน้าที่จัดเก็บอากรประมง
           

หนี้สาธารณะ
      หนี้สาธารณะ (Public Debt)  คือ หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมของรัฐบาล กล่าวคือ เมื่อฐานะการเงินของรัฐบาลเกิดการขาดดุล คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ และรัฐบาลไม่สามารถจะหารายได้จากภาษีที่เก็บจากประชาชนมาเพื่อใช้จ่ายได้พอ ก็จะทำการกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ ๒ แหล่ง คือ กู้ยืมจากภายในประเทศ และ กู้ยืมจากต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะ
 การกู้เงินของรัฐบาลนั้น อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้หลายกรณี คือ
() เพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ทางหลวง เขื่อน
(เพื่อใช้จ่ายในยามสงครามหรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ  ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การทำมาหากินของประชาชน
(เพื่อใช้จ่ายในการบริหารการคลังของรัฐบาลในระยะสั้น โดยออกตั๋วเงินคงคลัง จนกว่ารัฐบาลจะนำเงินค่าภาษีมาใช้
(เพื่อใช้ชำระหนี้เก่าที่ถึงกำหนดชำระหนี้และดอกเบี้ยคืน กรณีที่รัฐบาลมีหนี้ รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณไว้เพื่อชำระหนี้
(๕) เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ โดยการก่อหนี้ใหม่แล้วไปล้างหนี้เก่า เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้มีระยะเวลาชำระคืนยาวนานขึ้น

ประเภทของหนี้สาธารณะ
       ๑. แบ่งตามที่มาของเงินกู้
      ๑.๑. หนี้ภายในประเทศ รัฐบาลจะกู้เงินจากประชาชนทั่วไป ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง และสถาบันการเงินอื่นๆ ภายในประเทศ เงินที่กู้ยืมอาจจะเป็นเงินตราของประเทศหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี กับอีกร้อยละ ๘๐ ของรายจ่ายส่วนที่ชำระคืนต้นเงินกู้ในแต่ละปี ซึ่งอาจจะกู้เงินภายในประเทศโดยการออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร และตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยรัฐบาลจะขายให้สถาบันการเงินต่าง ๆ  ซึ่งในแต่ละปีคิดเฉลี่ยร้อยละ ๒๒ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
      ๑.๒. หนี้ภายนอกประเทศ รัฐบาลจะกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ ทั้งเอกชน รัฐบาล หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (
The Asian Development Bank) หรือกู้จากธนาคารโลก (World Bank) หรือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) เป็นต้น
      ๒. แบ่งตามระยะเวลาของเงินกู้
      ๒.๑. หนี้ระยะสั้น (
Short term) มีกำหนดเวลาใช้คืน ๓ เดือน ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๑ ปี ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้ที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินในระยะสั้นๆ จะออกเป็นตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills) หรือออกใบรับรองการเป็นหนี้ให้ การกู้ประเภทนี้จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนใหญ่รัฐบาลกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย
      ๒.๒. หนี้ระยะปานกลาง (
Intermediate term) คือ หนี้ที่มีกำหนดเวลาใช้คืนตั้งแต่ ๑-๕ ปี รัฐบาลจะออก Treasury note มาเป็นหลักฐานในการกู้
      ๒.๓. หนี้ระยะยาว (
Long term) คือ หนี้ที่มีกำหนดระยะเวลาใช้คืนตั้งแต่ ๕ ปี ขึ้นไป รัฐบาลจะออกตราสารประเภทพันธบัตรรัฐบาลออกมา โดยกำหนดจำนวนเงิน ระยะเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้เพื่อนำไปใช้ในโครงการระยะยาว เช่น การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค เช่น สร้างถนน สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ
ภาระหนี้ของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลกู้เงินมานั้น รัฐบาลมีภาระต้องชำระเงินต้น และดอกเบี้ยคืน ซึ่งแยกพิจารณาภารพได้ดังนี้
      ๑.หนี้ภายในประเทศ  รัฐบาลก่อหนี้โดยการกู้ยืมธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และเอกชนทั่วไป เป็นการโอนการใช้จ่ายเงินทางด้านเอกชนมาให้รัฐบาลใช้จ่ายแทนในรูปของเงินที่ให้รัฐบาลเวลาครบกำหนดรัฐบาลก็จะจ่ายเงินบาทคืน เงินเหล่านี้ก็ยังหมุนเวียนอยู่ในประเทศ
      ๒. หนี้ภายนอกประเทศ สมมติว่ารัฐบาลกู้ธนาคารโลก ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินจำนวนนี้เป็นเสมือนตัวแทนบริการและสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อหนี้ถึงกำหนดรัฐบาลต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลจะต้องส่งสินค้าจำนวนหนึ่งไปขายจึงจะได้เงินดอลลาร์สหรัฐส่งไปชำระหนี้แก่ธนาคารโลก 

อ้างอิงจาก : เอนก เธียรถาวร และคณะ.  ๒๕๓๕. หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส ๐๖๒ การเงิน การธนาคาร และการคลัง . กรุงเทพมหานคร :  วัฒนาพานิช

1 ความคิดเห็น:

  1. If you're attempting to lose pounds then you certainly need to jump on this brand new custom keto meal plan diet.

    To design this keto diet, licensed nutritionists, fitness trainers, and cooks have united to develop keto meal plans that are productive, convenient, price-efficient, and fun.

    From their grand opening in January 2019, 100's of people have already completely transformed their body and well-being with the benefits a certified keto meal plan diet can offer.

    Speaking of benefits; in this link, you'll discover 8 scientifically-certified ones offered by the keto meal plan diet.

    ตอบลบ