วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ ๒ สถาบันการเงิน

บทที่ 2 สถาบันการเงิน
หน้าที่ของสถาบันการเงิน
          สถาบันการเงิน (
Financial institution ) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม และเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภค และหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ โดยจ่ายค่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม กิจกรรมเหล่านี้เมื่อคนเราประกอบอาชีพมีรายได้เกิดขึ้น เขาย่อมมีอิสระที่จะนำรายได้นั้นไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคก็ได้ หรือจะเก็บออมไว้ในสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยงอกเงยก็ได้ และทางด้านการเงินของประเทศปกติก็จะมีคนอยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งมีรายได้แล้วต้องการจะเก็บออมไว้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเงินทุนไปประกอบธุรกิจของตน สถาบันทางการเงินจะเข้ามาเป็นแหล่งกลางให้บริการทางการเงินแก่คนทั้ง 2 กลุ่มนี้พบกัน สถาบันทางการเงินจะระดมเงินออมจากประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ กัน แล้วให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ
          ดังนั้น สถาบันทางการเงินของประเทศจึงเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือ หลายอย่างพร้อมกัน คือ
1. เป็นแหล่งกลางทางการเงิน  สถาบันการเงินเป็นแหล่งกลางที่ผู้กู้ และผู้ให้กู้สามารถสนองความต้องการต่อกันได้ โดยไม่ต้องรู้จักกันมาก่อน และผู้กู้สามารถกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมากกว่าที่ผู้ออมแต่ละรายจะให้กู้ได้ โดยสถาบันทางการเงินจะระดมเงินจากผู้ออมทั้งรายใหญ่ และรายเล็กรวบรวมให้กู้ยืมไปจำนวนมากได้
2. ลดการเสี่ยง สถาบันการเงินจะให้ความปลอดภัยแก่เงินของผู้ออมได้ดีกว่าผู้ออม จะให้กู้ยืมโดยตรง เพราะสถาบันทำธุรกิจด้านการเงินโดยเฉพาะ จึงมีประสบการณ์และมีประสิทธิภาพสูงกว่าบุคคลทั่วไป และสถาบันการเงินสามารถกระจายเงินกู้ออกไปได้หลายทาง ไม่มีทางที่จะสูญเสียหนี้ทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน จึงลดความเสี่ยงได้มาก
3. เคลื่อนย้ายทุน สถาบันการเงินประเภทธนาคารจะมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ธนาคารสาขาเหล่านี้จะทำหน้าที่รับฝากเงินจากที่หนึ่งแล้วให้กู้ไปยังอีกที่หนึ่ง จะเป็นผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนกระจายไปยังแหล่งต้องการเงินทุนอย่างทั่วถึง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในท้องถิ่นต่าง ๆ มีระดับใกล้เคียงไม่แตกต่างกันมากนัก
4. การให้บริการอื่น ๆ สถาบันการเงินนอกจากจะทำหน้าที่รับฝากเงินและให้กู้ยืมแล้ว ยังช่วยส่งเสริมสร้างสภาพคล่องทางการเงินของประเทศโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ลูกค้า เผยแพร่ข่าวสารและความรู้ทางการเงินแก่ธนาคาร ให้บริการด้านเงินโอน เป็นผู้ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น


สถาบันการเงินในประเทศไทย
         
สถาบันการเงินในประเทศไทยเริ่มติดต่อทำการค้าขายกับนานาประเทศ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวอังกฤษได้เข้ามาตั้งธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ เมื่อ พ.ศ. 2431 ธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นในระยะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นของชาวต่างประเทศทั้งสิ้น ธนาคารเหล่านี้จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนการค้าต่างประเทศ จนถึง พ.ศ. 2449 จึงมีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ของไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อ แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด และเปลี่ยนชื่อมาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2482 ปัจจุบันสถาบันการเงินของประเทศไทยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จำแนกออกได้ดังนี้1. ธนาคารแห่งประเทศไทย             เป็นธนาคารกลาง ( Central Bank ) ของประเทศ เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2483 ชื่อธนาคารชาติไทย ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารแห่งประเทศไทย และย้ายมาที่วังบางขุนพรหม ดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 มีฐานะเป็นองค์กรอิสระอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ และของรัฐบาล ซึ่งนักเรียนจะได้ทำความเข้าใจโดยละเอียดในบทต่อไป

2. ธนาคารพาณิชย์             นับเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญที่สุดในประเทศไทย เพราะมีปริมาณเงินฝาก และจำนวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันทางการเงินอื่น ๆ เป็นสถาบันทางการเงิน ซึ่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยยอมให้ไม่ต้องใช้ คำว่า บริษัท นำหน้า แต่ให้มีคำว่า จำกัด ไว้ท้ายชื่อเท่านั้น เช่น ธนาคารกรุงเทพจำกัด เป็นต้น
 3. ธนาคารออมสิน              เป็นธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งไว้เพื่อระดมเงินออมจากประชาชน โดยธนาคารมีสาขากระจายออกไปทั่วประเทศ เพื่อนำมาให้รัฐบาลกู้ยืมเงินโดยการซื้อพันธบัตร และตั๋วเงินคลังของรัฐบาล กล่าวคือ การใช้เงินออมส่วนใหญ่ของธนาคารออมสิน เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล ธนาคารออมสินตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2498 ทำหน้าที่ดังนี้
         
3.1 บริการเงินฝาก ธนาคารออมสินเปิดบริการรับฝากเงินประเภทต่าง ๆ เช่น เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากเผื่อเรียก (ออมทรัพย์) เงินฝากประจำ เงินฝากประเภทสงเคราะห์ทวีคูณ เงินฝากประเภทเคหสงเคราะห์ เป็นต้น
         
3.2 การลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ ธนาคารออมสินระดมเงินออมจากประชาชนมาลงทุนในทางก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม เช่น ซื้อตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้นำไปใช้พัฒนาประเทศ ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
         
3.3 ส่งเสริมการออมทรัพย์ ธนาคารออมสินมีนโยบาย ส่งเสริมการออมและอำนวยความสะดวกให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่ต้องการเก็บออม โดยจะไปบริการรับฝากเงินนอกสถานที่ ปละเปิดรับฝากเงินตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังนิสัยให้เยาวชนรู้จักประหยัดและเก็บออมทรัพย์
  
4. บริษัทเงินทุน และบริษัทหลักทรัพย์              เป็นสถาบันการเงินที่เริ่มจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 แล้วขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะดำเนินกิจการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ระดมเงินออมโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป คล้ายกับการรับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์ แต่จะให้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ให้กำหนดวงเงินขั้นตั๋วสัญญาไว้เป็น 2 กรณี คือ
          (ก) ในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี วงเงินขั้นต่ำ
10,000 บาท
          (ข) ในเขตนอกจากข้อ ก วงเงินขั้นต่ำ
5,000 บาท
          บริษัทเงินทุน และบริษัทหลักทรัพย์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
         
4.1 บริษัทเงินทุน เป็นสถาบันทางการเงินที่ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนทั่วไป โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วนำไปให้ผู้กู้ยืม และลงทุนในหลักทรัพย์ การให้กู้ยืมเพื่อกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ เพื่อพัฒนา เพื่อการจำหน่าย และการบริโภค เพื่อการเคหะ และเพื่อกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
         
4.2 บริษัทหลักทรัพย์ เป็นสถาบันทางการเงินที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เช่น เป็นที่ปรึกษาลงทุน จำหน่ายหลักทรัพย์ ( หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร) เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น

5. สถาบันการเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินที่จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะเพื่อทำธุรกิจตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ดำเนินธุรกิจเฉพาะสาขาของเศรษฐกิจ โดยมีกฎหมายควบคุมการดำเนินงาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
 
5.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)         เป็นธนาคารของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อส่งเสริมอาชีพหรือการดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร โดยให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
          ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีสาขาอยู่ทุกภาคของประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้อก่เกษตรกรที่ต้องการกู้ยืมเงินไปดำเนินธุรกิจต่าง ๆ และมีเกษตรกรสาขาต่าง ๆ ที่ธนาคารรับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าทั่วราชอาณาจักร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกร มิใช่เพื่อหวังผลกำไรดังเช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
          การให้บริการสินเชื่อแก่เกษตรกร เป็นหน้าที่สำคัญของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร การให้สินเชื่อของธนาคาร  แบ่งออกเป็น
5 ประเภท คือ
          (
1) การให้เงินกู้แก่เกษตรกรรายบุคคล ได้ให้บริการสินเชื่อแก่เกษตรกรโดยตรงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเมื่อมีความต้องการเงินสำหรับการลงทุนทางการเกษตร ก็สามารถของกู้เงิน โดยสมัครเป็นลูกค้า ในประเภทลูกค้ารายบุคคลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
          (
2) การให้เงินกู้แก่สหกรณ์การเกษตร ให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์การเกษตร และกลุ่มเกษตรกร โดยให้เงินกู้สำหรับการดำเนินงานทุกด้านของสหกรณ์ แบ่งเงินกู้ออกเป็น 4 ประเภท คือ
         
          2.1 เงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนให้กู้แก่สมาชิก เป็นเงินกู้ที่สหกรณ์การเกษตรกู้เพื่อให้สมาชิกกู้ต่อสำหรับนำไปลงทุนในการเกษตรของสมาชิกแต่ละคน โดยสหกรณ์การเกษตรจะเป็นผู้ดำเนินการสินเชื่อต่อสมาชิกเอง
                   
2.2 เงินกู้เพื่อการขายผลผลิตทางการเกษตร เมื่อสมาชิกนำเงินกู้ไปลงทุนในการผลิตทางการเกษตรแล้ว เมื่อมีผลิตผลเกิดขึ้น สหกรณ์การเกษตรจะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากสมาชิกโดยตรง เพื่อตัดพ่อค้าคนกลางโดยใช้เงินกู้ประเภทนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                   
2.3 เงินกู้เพื่อจัดหาวัสดุการเกษตร สหกรณ์การเกษตรจัดทำวัสดุการเกษตรเพื่อจำหน่ายให้แก่สมาชิก โดยใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร มาเป็นทุนในการจัดหาวัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ เครื่องมือการเกษตร เป็นต้น
                   
2.4 เงินกู้ระยะยาวเพื่อการเกษตร สำหรับการดำเนินในโครงการพัฒนาการเกษตร ซึ่งได้รับความเห็นชอบทุกรัฐบาลหรือกิจการสาธารณูปโภคเพื่อเกษตรกรใช้ประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ประจำอื่น ๆ ของสหกรณ์การเกษตร

           
5.2 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย                  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502  เพื่อจัดหาทุนให้กู้ระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เช่น สร้างโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นต้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินการในรูปแบบบริษัทจำกัด มีธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินต่าง ๆ บริษัทห้างร้าน และประชาชนทั่วไปเป็นผู้ถือหุ้น รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้และส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของบริษัทอีกด้วย บรรษัทตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จัดหาแหล่งเงินทุนทั้งในและนอกประเทศมาพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ คือ
          (
1) เพื่อช่วยเหลือการจัดตั้งขยาย และปรับปรุงพัฒนาอุตสาหกรรมส่วนเอกชน
          (
2) เพื่อสนับสนุนและดำเนินการให้มีทุนส่วนเอกชนทั้งในและนอกราชอาณาจักร
          (
3) เข้าร่วมในการประกอบอุตสาหกรรมส่วนเอกชน
          (
4) การรวมเงินทุน และช่วยพัฒนาตลาดทุน
การดำเนินงานของบรรษัท บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมได้กำหนดให้บรรษัทสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เป็นนิติบุคคลโดยให้บริการและสนับสนุนในเรื่องต่อไปนี้
           (
1) ให้กู้เงินในระยะปานกลาง และระยะยาว โดยคิดดอกเบี้ยอัตราต่ำ และแตกต่างกันไปตามประเภทของอุตสาหกรรม
          (
2) เข้าร่วมทุนในกิจการอุตสาหกรรมที่พิจารณาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
          (
3) ให้บริการจัดหาเงินกู้ และร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศแก่กิจการอุตสาหกรรมที่ต้องการเงินมากกว่าที่ทางบรรษัทจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้โดยบรรษัทเอง
          (
4) ให้บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ชนิดต่าง ๆ ของกิจการอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ที่มีหรือไม่มีธนาคารค้ำประกัน
          (
5) บรรษัทได้จัดตั้งบรรษัทในเครือขึ้นเพื่อให้บริการแก่กิจการอุตสาหกรรม เช่น บริษัทไทยโอเรียนท์ลีสซิ่ง จำกัด ให้บริการด้านช่วยจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เช่าหรือเช่าซื้อ โรงงานเหล่านี้จะมีสาธารณูปโภคพร้อม เช่นไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ อันเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในเขตนั้น                                           ๕.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
         เป็นธนาคารของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.
2496 เพื่อดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
          (
1) ให้กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้
         
1.1 ซื้อที่ดินหรืออาคารเป็นของตนเอง
         
1.2 สร้าง ขยาย หรือซ่อมแซมอาคารของตนเอง
         
1.3 ใช้ไถ่ถอนจำนองอันผูกผันที่ดินหรืออาคารของตนเอง
          1.4 ใช้ไถ่ถอนซึ่งการขายฝากที่ดินหรืออาคารของตนเอง
         
1.5 ใช้ในการลงทุนจัดกิจการเคหะ
          (
2) รับจำนำ หรือ จำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม
          (
3) รับฝากเงินที่ต้องจ่ายเงินเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้
          (
4) กิจการอันพึงเป็นธนาคารตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
          เนื่องจากที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งปัจจัยในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญแก่การดำรงชีพของประชาชน และต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การจัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยจึงกระทำใน
2 ด้าน คือ ด้านรัฐบาล และเอกชน ด้านรัฐบาลมีการเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ ด้านเอกชน ได้แก่ผู้ลงทุนหากำไรจากกิจการเคหะ ส่วนธนาคารอาคารสงเคราะห์จะให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่การเคหะแห่งชาติ และเอกชนผู้ลงทุนประกอบการด้านเคหกิจ นอกเหนือจากการให้ประชาชนกู้ยืมไปจัดหาที่อยู่อาศัยโดยตรง

๕.
กิจการประกันชีวิต
          เป็นสถาบันการเงินระดมเงินออมโดยให้ประชาชนซื้อกรมธรรม์ประกันภัย แบะบริษัทประกันชีวิตตกลงจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือแก่ผู้รับผลประโยชน์ ในเมื่อผู้เอาประกันชีวิตตายลง หรือยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยเอาผู้ประกันชีวิตส่งเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทผู้รับประกันชีวิตตามที่กำหนดในสัญญา การประกันชีวิตนั้นมีหลายแบบ แบบที่เป็นหลักทั่ว ๆ ไปมีดังนี้ คือ
          (
1) การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เป็นสัญญาที่บริษัทรับประกันชีวิตตกลงจะจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันชีวิตตายภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น ระยะเวลา 10 ปี  15 ปี 20 ปี แต่ถ้าผู้เอาประกันชีวิตมีอายุรอดจนครบกำหนดสัญญาก็จะไม่ได้รับเงินประกันชีวิต
          (
2) การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เป็นสัญญาที่บริษัทรับประกันชีวิตตกลงจะจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ไม่ว่าผู้เอาประกันชีวิตจะตายเมื่อใด
          (
3) การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นสัญญาที่รวมสองแบบเข้าด้วยกัน คือ บริษัทตกลงจะจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันชีวิตตายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด หรือมีชีวิตรอดอยู่จนสัญญาครบกำหนด
          (
4) การประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำ หรือแบบบำนาญ เป็นแบบที่ผู้เอาประกันชีวิตซื้อความคุ้มครองให้แก่ตนเองให้มีรายได้เป็นประจำเหมือนบำนาญที่จ่ายให้ในยามชรา
          จำนวนเงินเอาประกันชีวิตจะเป็นเท่าไรนั้น ผู้เอาประกันชีวิตจะต้องเป็นผู้กำหนดตามความเหมาะสม โดยต้องพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายชำระเบี้ยประกันชีวิตด้วย ซึ่งค่าเบี้ยประกันชีวิตจะมีจำนวนเท่าไรต้องขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันชีวิต ระยะเวลา อายุ เพศ และอาชีพของผู้เอาประกัน

 5.๕ สหกรณ์การเกษตร
           เป็นสถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นเพื่อให้เกษตรกรร่วมมือช่วยเหลือกันในการประกอบอาชีพของเกษตรกร และให้เกษตรกรกู้เงินสหกรณ์การเกษตร ส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่ในชนบท
๕.๖ สหกรณ์ออมทรัพย์
            เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากสมาชิก และให้สมาชิกกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย และนำกำไรที่ได้รับจากการดำเนินงานมาแบ่งปันให้สมาชิกตามมูลค่าของหุ้นที่ถือ เรียกว่า เงินปันผล และตามมูลค่าของดอกเบี้ยเงินกู้ เงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ได้จากเงินค่าหุ้นของสมาชิก เงินฝากสมาชิก และเงินกู้จากสถาบันการเงินอื่น ๆ แล้วนำเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่น เพื่อเหตุฉุกเฉิน เพื่อการอุปโภคบริโภค สหกรณ์ที่มีเงินทุนมากก็อาจทำให้สมาชิกกู้ยืมระยะยาว เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยด้วย นอกจากนี้ยังมีเครดิตยูเนียน (
Credit Union) ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการออมระหว่างสมาชิก และสหกรณ์จะให้สมาชิกกู้ยืมเงินจำนวนเล็กน้อย เพื่อใช้สอยส่วนตัว และครอบครัว

๕.7 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ( Credit foncier companies ) เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการ ระดมทุน ด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำมาให้ประชาชนกู้เงินไปซื้อที่ดิน และ สร้างที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
          (
1) ให้กู้โดยมีบ้าน และที่ดินค้ำประกัน
          (
2) ซื้อบ้านและที่ดินโดยให้สิทธิผู้ขายที่จะไถ่ถอนคืนได้
          (
3) ขายบ้านและที่ดินโดยวิธีการเช่าซื้อ

๕.8 โรงรับจำนำ เป็นสถาบันทางการเงินขนาดเล็กที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งชุมชน ทำหน้าที่ให้กู้ยืมแก่ประชาชนทั่วไป โดยการรับจำนำสิ่งของและเครื่องใช้ต่าง ๆ ทั้งของใหม่และของที่ใช้แล้ว โรงรับจำนำมีอยู่ 3 ประเภท ตามลักษณะของผู้ดำเนินงาน คือ
          (
1) โรงรับจำนำที่ดำเนินงานโดยเอกชน
          (
2) โรงรับจำนำที่ดำเนินงานโดยกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์
          (
3) โรงรับจำนำที่ดำเนินโดยเทศบาล เรียกว่า สถานธนานุบาล
โรงรับจำนำของเอกชนใช้เงินทุนของผู้เป็นเจ้าของ หรือหุ้นส่วนและเงินจากการกู้ยืมมาใช้ดำเนินการรับจำนำ สถานธนานุเคราะห์ได้เงินทุนจากงบประมาณซึ่งรัฐบาลจัดสรรให้รวมทั้งเงินกำไรสะสม และเงินกู้จากธนาคารออมสิน ส่วนสถานธนานุบาลได้เงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล โรงรับจำนำทั้ง
3 ประเภทเป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยนิยมกู้ไปเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ

อ้างอิงจาก :
เอนก เธียรถาวร และคณะ.  ๒๕๓๕. หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส ๐๖๒ การเงิน การธนาคาร และการคลัง . กรุงเทพมหานคร :  วัฒนาพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น